พลังงานแผงไฟโซล่าเซลล์หรือพลังงานแผงแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานทดแทนหมุนเวียน ได้ที่สามารถใช้แล้ว เกิดขึ้นใหม่ได้ตามธรรมชาติ เป็นพลังงานที่ ไร้มลพิษไม่มีมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม และ เป็นพลังงานที่มีศักยภาพสูง ในการใช้พลังงานแสงอาทิตย์สามารถจําแนกออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
1. การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
2. การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตความร้อนและการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตความเย็น โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่มีการใช้งานในประเทศไทยอย่างแพร่หลาย และมีความคุ้มค่าในปัจจุบัน ได้แก่เทคโนโลยีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และความร้อน ในรูปแบบของการผลิตน้ำร้อนและการอบแห้ง เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
หน้าที่ของกล่องควบคุมการประจุไฟฟ้าในแผงไฟโซล่าเซลล์
– เลือกว่าจะส่งกระแสไฟฟ้าไปยังอินเวอร์เตอร์หรือส่งไปยังแบตเตอรี่หรือ
– ตัดแผงโซล่าเซลล์ออกจากระบบและต่อแบตเตอรี่ตรงไป ยังอินเวอร์เตอร์
อินเวอร์เตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่แปลงกระแสไฟฟ้าตรงเป็นกระแสไฟฟ้าสลับใน การแปลงดังกล่าวจะเกิดการสูญเสียขึ้นเสมอโดยทั่วไปประสิทธิภาพของอิน เวอร์เตอร์มีค่าประมาณร้อยละ 85-90 หมายความว่าถ้าต้องการใช้ไฟฟ้า 85-90 วัตต์เราควรเลือกใช้อินเวอร์เตอร์ 100 วัตต์ เป็นต้น
อีกทั้งในการใช้งานเราควรติดตั้งอินเวอร์เตอร์ในที่ร่มอุณหภูมิไม่เกิน 40 องศาความชื้นไม่เกินร้อยละ 60 อากาศระบายได้ดี ไม่มีสัตว์เช่น นก หนู งู อื่นๆ มารบกวน และมีพื้นที่ให้บำรุงรักษาได้เพียงพอ
สถานที่ ติดตั้งแผงไฟโซล่าเซลล์ ควรเป็นที่โล่งไม่มีเงามาบัง การติดตั้งโซล่าเซลล์ อาจอยู่ บนพื้นดินหรือบนหลังคาบ้านก็ได้ ควรวางแผงไฟโซล่าเซลล์ให้มีความลาดเอียงประมาณ 10- 15 องศา จากระดับแนวนอนและหันหน้าไปทางทิศใต้ การวางแผงเซลล์ให้มีความลาดดังกล่าวจะช่วยให้แผงโซล่าเซลล์รับแสงอาทิตย์ได้ มากที่สุดและช่วยระบายน้ำฝนได้รวดเร็วนั่นเอง
การออกแบบขนาดของระบบไฟโซล่าเซลล์สำหรับติดตั้งบนหลังคาบ้าน
การกำหนดกำลังไฟฟ้าของโซล่าเซลล์ที่ควรติดตั้งใช้สอยภายในบ้านนั้น เจ้าของบ้านควรพิจารณาว่าจะใช้ไฟโซล่าเซลล์สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับเครื่อง ใช้ไฟฟ้าชนิดใดบ้าง เพื่อจะได้ติดตั้งไฟโซล่าเซลล์ได้เพียงพอกับความต้องการในการใช้งานและไม่ติด ตั้งมากเกินความจำเป็น